คำถามที่พบบ่อย

ทำไมเจ้าของแบรนด์ต้องมีรหัสผู้ประกอบการ เพื่อใช้ในการจดแจ้งเครื่องสำอาง

ในกรณีว่าจ้างผลิต

เจ้าของแบรนด์ =  ผู้ว่าจ้างผลิต

โรงงานผลิตครีม = ผู้รับจ้างผลิต

การจดแจ้งเครื่องสำอางระบบใหม่ผ่านอินเตอร์เน็ต จะกำหนดให้ผู้รับจ้างผลิตต้องใส่ข้อมูลผู้ว่าจ้างผลิต(เจ้าของแบรนด์) ซึ่งทางโรงงานจะใส่ข้อมูลได้ขณะจดแจ้งผ่านอินเตอร์เน็ตได้ผ่านรหัสผู้ประกอบการเท่านั้น ดังนั้นเจ้าของแบรนด์จะต้องมีรหัสผู้ประกอบการที่ได้รับการอนุมัติรหัสจากคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

การขอรหัสผู้ประกอบการสามารถขอได้ทั้ง บุคคล และนิติบุคคล

ขั้นตอนในการสั่งผลิตสินค้ากับเมอร์รี่
  1. เลือกสูตรครีม

  2. เลือกบรรจุภัณฑ์

  3. ทำสัญญาจ้างผลิตระหว่างผู้ว่าจ้าง กับเมอร์รี่

  4. ขอรหัสผู้ประกอบการ /จดแจ้ง

  5. ออกแบบโลโก้ ฉลาก กล่อง

  6. สั่งผลิตฉลาก และกล่อง

  7. วัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ กล่อง ฉลาก ฟิลม์หด  พร้อมที่โรงงาน

  8. ทำการผลิต

  9. ฆ่าเชื้อบรรจุภัณฑ์ แล้วบรรจุ

  10. ติดฉลาก/ ใส่กล่อง พิมพ์วันที่ผลิต-หมดอายุของผลิตภัณฑ์  เสร็จเป็นสินค้าสำเร็จรูป

  11. ส่งถึงมือลูกค้า

ต้นทุนของการสั่งผลิตเครื่องสำอางมีอะไรบ้าง

2.1 ค่าเนื้อครีม-เซรั่ม-โลชั่น นั้นๆ ต่อหนึ่งหน่วยการบรรจุ เช่น ราคาต้นทุนครีมต่อหลอด

      1 กิโลกรัม หรือ 1 ลิตร ติดว่ามี 1000 กรัม

      ครีมราคาโลละ 2000 บาท ต้นทุนต่อกรัม 2000/1000 = 2 บาทต่อกรัม

      หลอด 20 กรัม ต้นทุนครีมต่อหลอด 20 กรัม *2 บาท = 40 บาทต่อหลอด

2.2 ค่าบรรจุภัณฑ์ ขึ้นกับประเภทของผลิตภัณฑ์ที่จะเลือกใช้

      2.2.1 หลอดราคาถูกกว่ากระปุก แต่ กระปุกใส่แล้วดูมีขนาดใหญ่กว่าหลอด

      2.2.2 บรรจุภัณฑ์ที่เป็นสุญญากาศจะแพงกว่า แบบอื่นๆ

      2.2.3 วัสดุของบรรจุภัณฑ์ให้ความรู้สึก ความคงทน ความสวยงาม วิธีการใช้แตกต่างกันไป เช่น พลาสติก แก้ว อคิลิค เป็นต้น

2.3 ค่าฉลาก-ค่าสกรีนบนบรรจุภัณฑ์

       2.3.1 ประเภทฉลากมีทั้งกระดาษเคลือบยูวี  และพลาสติก เนื้อ PE, PVC  เคลือบฟอยล์ ราคาของฉลากขึ้นกับวัสดุ และขนาดของฉลาก เป็นต้น

       2.3.2 การสกรีน จะเริ่มต้นที่ 500 ชิ้น ทั้งนี้การสั่งบรรจุภัณฑ์สำหรับสกรีนต้องสั่งเผื่อ 10 %   สำหรับของเสียระหว่างการสกรีน

2.4 ค่ากล่องของสินค้า ต้นทุนกล่อง ขึ้นกับ

       2.4.1 ขนาดกล่องที่ออกแบบ

       2.4.2 ความหนาของกระดาษ ความหนาที่ทำให้รูปทรงกล่องไม่เสีย ตั้งได้เมื่อเวลาผ่านไปคือ 350 แกรม

       2.4.3 ชนิดกระดาษ ว่าเป็นกระดาษอาร์ตหน้าเดียว หรือสองด้าน

       2.4.4 สเปคของกล่อง ว่ามีปั๊มนูน สปอตยูวี เคลือบด้าน หรือเคลือบเงา

       2.4.5 จำนวนสีของกล่อง หากใช้สีเยอะ ก็จะทำให้ราคาแพงกว่าใช้สีน้อย เพราะเป็นการขึ้นกับจำนวนเพลทที่ใช้พิมพ์กล่อง

2.5 ค่าบริการแบ่งบรรจุครีม เช่น

       2.5.1 ค่าฆ่าเชื้อบรรจุภัณฑ์

       2.5.2 ค่าบรรจุ

       2.5.3 ค่าพิมพ์วันที่

       2.5.4 ค่าติดฉลาก

       2.5.5 ค่าพับกล่อง /ใส่กล่อง

       2.5.6 ค่าฟิลม์หด

ต้นทุนของการสั่งผลิตเครื่องสำอางมีอะไรบ้าง

ค่าเนื้อต่อหลอด หรือต่อขวด + ค่าบรรจุภัณฑ์+ค่ากล่อง+ค่าบริการแบ่งบรรจุ

ต้นทุนของเจ้าของแบรนด์ในการขายแบรนด์มีอะไรบ้าง
  1. ค่าสินค้าต่อหน่วย

  2. ค่าการตลาด ประชาสัมพันธ์

  3. ค่าขนส่งถึงมือลูกค้า

  4. ค่าใช้จ่ายในการขาย เช่น พนักงาน ค่าคอมมิชชั่น

ก่อนสั่งผลิตสินค้าต้องรู้อะไรบ้าง
  1. อยากทำสินค้าขายกลุ่มไหน เช่น ผิวหน้า ผิวกาย และเส้นผม หรือกลุ่มเมคอัพ

  2. รูปลักษณ์แบรนด์ สินค้า คอนเซปแบรนด์เป็นแบบไหน

  3. ต้นทุนสินค้าต่อหน่วยที่ต้องการ คือเท่าไหร่

  4. ราคาขายปลีกในท้องตลาดถึงมือลูกค้า

  5. ต้นทุนการตลาดผ่านช่องทางต่างๆ มีอะไรบ้าง

  6. งบประมาณที่ต้องการใช้ในการทำสินค้าหนึ่งรายการ